HOW TO สู้ COVID-19

1. Recheck อาการโควิด-19 ได้ด้วยตัวเอง

วินาทีนี้คงไม่มีใครอยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง และยิ่งใครที่ทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็มักตั้งคำถามกับตัวเองว่า “วันนี้ฉันเป็นโควิดแล้วหรือยัง” ไทยรัฐออนไลน์จึงนำวิธีการตรวจสอบอาการโควิด-19 ระยะแรก ด้วยตัวเอง รวมถึงวิธีการเข้ารับการตรวจรักษามาบอกข่าว เพื่อให้ทุกท่านได้คลายกังวลและเตรียมรับมือได้อย่างมีสติ

เช็กอาการโควิด-19 วันต่อวัน

ในการแสดงอาการของโรคโควิด-19 แบบวันต่อวันของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน แต่มีภาพรวมที่เหมือนกัน 3 อย่าง คือ ช่วงแรกจะเป็นไข้สูง ช่วงกลางจะคัดจมูก มีน้ำมูกไหล และช่วงท้ายจะมีลักษณะของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ไอ หรือ จาม โดยอาการโรคโควิด-19 ระยะแรก คล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่มาก จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีการยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการเท่านั้น และเราสามารถดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโรคแบบวันต่อวัน ได้จากสถิติที่โรงพยาบาล Zhongnan จาก Wuhan University ได้ศึกษาไว้ และตีพิมพ์ใน American Medical Association ไว้ดังนี้

วันที่ 1 :
จากการศึกษาใน 138 ตัวอย่าง พบว่า
– 99% ของผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นสูง
– 70% จะเหนื่อยล้ามาก
– 59% มีอาการไอแห้ง
– 35% มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
– 31% หายใจลำบาก

 วันที่ 5 :
จากการศึกษาของ Wuhan University พบว่าผู้ป่วยใน 5 วันแรกจะมีอาการหายใจลำบาก

วันที่ 7 :
จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบากกินเวลา 12 – 13 วัน

วันที่ 8 :
ผู้ป่วยจะมีอาการเข้าสู่โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ARDS) ทำให้ปอดรับออกซิเจนได้ไม่เพียงพอ

วันที่ 10 :
ผู้ป่วยจะแสดงอาการโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ARDS) มีการศึกษาว่าผู้ป่วยที่แสดงอาการนี้ในวันที่ 10 จะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าผู้ที่แสดงอาการนี้ในวันที่ 12

วันที่ 12 :
บางคนมีไข้สูงกินเวลาถึง 12 วัน และมีอาการไอถึง 19 วัน

วันที่ 22 :
ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 มักหายในระยะเวลา 19 – 22 วัน หลังแสดงอาการในวันแรก และแพทย์จะอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้

2. สรุปอาการโควิด-19 วันแรก เบื้องต้นมีลักษณะอย่างไร ?

จากการศึกษาของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีน พบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการร้อยละ 1.2 และร้อยละ 80.9 แสดงอาการไม่รุนแรง และอาการโควิด-19 ระยะแรก มี 5 ลักษณะ ได้แก่ มีไข้ ล้า ไอ ปวดเมื่อย หายใจลำบาก ซึ่งหากครบทั้ง 5 ข้อ และเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคที่กรมควบคุมโรคแจ้งไว้ ก็ควรไปพบแพทย์

3. อาการโควิด-19 ต่างจากไข้หวัดทั่วไปอย่างไร

องค์การอนามัยโลกได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า โควิด-19 และไข้หวัดธรรมดา มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องไข้ และอาการผิดปกติของทางเดินหายใจ ส่วนความแตกต่างก็คือ

– ผู้ติดเชื้อโควิด-19 แสดงอาการช้ากว่าไข้หวัดอื่นๆ คนอื่นสามารถติดเชื้อจากเราในเวลา 5-6 วัน หลังพบว่าเราติดเชื้อ ส่วนไข้หวัดทั่วไปใช้เวลา 3 วัน
– โดยปกติแล้วไข้หวัดทั่วไปจะแพร่กระจายในเด็กมาก แต่พบว่าเด็กอายุ 0-19 ปี ติดโควิด-19 น้อยกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น
– สัดส่วนผู้ได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วแสดงอาการรุนแรงนั้น สูงกว่าไข้หวัดทั่วไป

อย่างไรก็ดี กลุ่มที่มีความเสี่ยงว่าหากติดโควิด-19 แล้วจะแสดงอาการรุนแรง คือ เด็ก, สตรีมีครรภ์, ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงพบว่าลักษณะอาการของโรคไม่รุนแรงถึงร้อยละ 80 เพราะฉะนั้นลดความกังวลใจได้ระดับหนึ่งทีเดียว

4. อาการโควิด-19 ตรวจที่ไหน

เพื่อความสบายใจโดยเร็วที่สุด หากคุณคิดว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ไทยรัฐออนไลน์แนะนำให้คุณเข้าไปตรวจรับการรักษาที่โรงพยาบาลประกันสังคม โรงพยาบาลที่มีสิทธิสวัสดิการของรัฐ เพราะโรงพยาบาลรัฐจะมีการตรวจยืนยันผล ได้แก่

  • โรงพยาบาลศิริราช

  • โรงพยาบาลรามาธิบดี

  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  • โรงพยาบาลราชวิถี

  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์

  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

  • โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • โรงพยาบาลลำปาง

  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

  • โรงพยาบาลนครปฐม

แต่หากเดินทางไปตรวจยังโรงพยาบาลเอกชน บางแห่งยังเป็นการตรวจแบบคัดกรอง ซึ่งต้องส่งผลไปยังโรงพยาบาลรัฐที่ได้รับการรองรับผล COVID-19 อยู่ดี แต่ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการแสดงอาการด้วย หากอาการหนักแล้วก็ควรรีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด

และเพื่อความสะดวก สามารถหาพิกัด โรงพยาบาลรับตรวจโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วพร้อมแสดงพิกัด GPS ได้ที่ >> nostramap.com

5. อาการโควิด-19 รักษาอย่างไร

ปัจจุบัน โรงพยาบาลทั่วโลก ใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงอาการของโรคโควิด-19 เช่น ยาฆ่าเชื้อ, ยาลดไข้ ตามอาการของโรค ยกเว้นบางประเทศที่กำลังคิดค้นหรือพัฒนายาที่รักษาโควิด-19 ได้โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็มีอาการแทรกซ้อนไม่เหมือนกัน

เราควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจโควิด-19 เมื่อไหร่

เราสามารถเช็กอาการโควิด-19 ระยะแรก ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ แต่หากประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงตามเกณฑ์สอบสวนโรคของกรมควบคุมโรค 5 ข้อ หากมีเกณฑ์เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มนี้ ควรเข้ารับการรักษาตามสิทธิการรักษาที่มี แต่หากเลือกไปโรงพยาบาลเอกชน แม้ว่าบางแห่งจะยกเว้นค่าตรวจโควิด-19 แต่ก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย

หรือหากสงสัยว่าตัวเองมีอาการโควิด-19 ระยะแรก ก็สามารถตรวจโควิดด้วยตัวเอง ด้วยแอปฯ ใกล้มือหมอ ซึ่งคุณสามารถแยกโรคไข้หวัดอื่นๆ ออกจากโควิด-19 ได้เบื้องต้น

ดังนั้นการตื่นตัวไว้นั้นก็ดี แต่อาจจะเสียเงินฟรีหากเข้าใจผิด เพราะฉะนั้นต้องมีสติอยู่บนวิจารณญาณ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจึงดีที่สุด

ที่มา :
1. World Health Organization : Q&A: Similarities and differences – COVID-19 and influenza
2. Fox Business : Coronavirus symptoms by the day: What to expect: studies
3. ไทยรัฐออนไลน์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *