หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Mechatronics Engineering

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย): วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

ชื่อย่อ (ไทย): วศ.บ. (วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Bachelor of Engineering (Mechatronics Engineering)

ชื่อย่อ (อังกฤษ): B.Eng. (Mechatronics Engineering)

3. วิชาเอก

4. จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

143 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

          5.1 รูปแบบ

                    หลักสูตรระดับปริญญาตรีตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หลักสูตร 4 ปี

          5.2 ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรี)

                    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

          5.3 ภาษาที่ใช้

                    ภาษาไทย

          5.4 การรับเข้าศึกษา

                    ให้คัดเลือกนักศึกษาให้เป็นไปตามวิธีการที่สถาบันฯ กำหนด

          5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

                    เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

          5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

                   ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ปรับปรุงมาจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ พ.ศ. 2555 โดยเริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560

สภาวิชาการเห็นชอบและให้การนำเสนอหลักสูตรต่อสถาบันฯ ในการประชุมครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560

สภาสถาบันฯ อนุมัติหลักสูตรนี้ ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ในปีการศึกษา 2562

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

          8.1 วิศวกรเฉพาะทางเมคคาทรอนิกส์ โดยสามารถออกแบบ ควบคุม ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมกระบวนการผลิต และกระบวนการต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานในระบบต่างๆ เช่น การเขียนโปรแกรมอินเตอร์เฟสส่วนต่อพ่วงและควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ การวางแผนและควบคุมระบบการผลิตอัตโนมัติ การควบคุมเครื่องกลแบบอัตโนมัติ การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การวางแผนและออกแบบระบบการผลิต การประยุกต์ใช้เซนเซอร์และแอคทูเอเตอร์ในการควบคุมเครื่องจักรกล การควบคุมและประยุกต์ใช้หุ่นยนต์และระบบการผลิตสมัยใหม่

          8.2 นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมเครื่องจักอัตโนมัติ การพัฒนาระบบควบคุมแนวใหม่ การออกแบบระบบการผลิตอัตโนมัติ การออกแบบชิ้นส่วนและการวิเคราะห์เชิงเลข การเขียนโปรแกรมสำหรับตัวประมวลผลตระกูลต่างๆ เป็นต้น

          8.3 นักวิชาการในสถาบันการศึกษาทางด้านช่างอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

          8.4 ประกอบอาชีพอิสระทางด้านเมคคาทรอนิกส์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบติดตั้งระบบการออโตเมชั้น การซ่อมบำรุงระบบออโตเมชั่นและระบบการผลิตอัตโนมัติ การออกแบบวงจรควบคุมระบบอัตโนมัติ เป็นต้น

          8.5 บัณฑิตสามารถศึกษาต่อได้ในระดับสูงขึ้น